แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท
อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ลิตเติ้ลอาร์นำมาฝากกันก็คือ แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ถ้าเพื่อน ๆ พร้อมแล้วเราไปดูกันเลยดีกว่าว่าที่นี่มีอะไรน่าสนใจบ้าง
ที่มา: http://www.painaidii.com |
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตั้งอยู่ที่ ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมาเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา มีอายุที่เก่าแก่ที่สุดของเขตภาคอีสานตอนล่าง มีการจัดแสดงในรูปของพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ประกอบด้วยหลุมขุดค้นจำนวน 3 หลุม โครงกระดูกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ราว 56 โครง รวมทั้งโบราณวัตถุอื่นๆอีกจำนวนมาก
ที่มา: http://oknation.nationtv.tv/blog |
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาทเป็นที่รู้จักเพราะ นักค้าของเก่าลักลอบนำโบราณวัตถุในบริเวณหมู่บ้านไปขาย กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการจับกุมพร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาแหล่งโบราณคดีนี้ในปี 2526 พบว่าแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 1 ชั้น มีลำธารปราสาทไหลผ่านด้านเหนือ มีมนุษย์มาตั้งชุมชนครั้งแรกราว 3,000 ปีมาแล้ว รู้จักการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ มีการใช้สำริดบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ทำภาชนะดินเผาทรงปากแตรสีแดงขัดมันและมีการนำภาชนะดังกล่าวฝังร่วมกับศพด้วย ต่อมาในราว 2,200 ปี เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสูงขึ้น โดยผลิตภาชนะดินเผาแบบพิมายดำขึ้นแทน มีการนำเหล็ก สำริด หินสีต่าง ๆ เช่น หินคาร์นีเลียน หินอเกต มาทำเครื่องใช้เครื่องประดับ จนราวพุทธศตวรรษที่ 16 จึงเริ่มรับวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรเข้ามา แต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่ชุมชนนี้จะสิ้นสุดไป
เนินเดินภายในหมู่บ้าน |
บ้านปราสาทนับเป็นแหล่งโบราณคดีแห่งที่สองต่อจากบ้านเชียง ที่ได้จัดทำในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จากหลักฐานที่ค้นพบสันนิษฐานว่า มีชุมชนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีหลักฐานของกลุ่มวัฒนธรรมแบบทวารวดีและแบบเขมรโบราณ ช่วงระหว่าง 1,500-3,000 ปีมาแล้ว หลุมขุดค้นที่ตกแต่งและเปิดให้ชม มีทั้งหมด 3 แห่ง คือ
หลุมขุดค้นที่ 1
มีโครงกระดูกฝังอยู่ในชั้นดิน 3 ระยะ
แต่ละระยะจะมีลักษณะการฝังที่ต่างกันไป ระยะแรกมีอายุประมาณ 3,000 ปีอยู่ในชั้นดินระดับล่างสุดลึก 5.5 เมตร
โครงกระดูกจะหันหัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แขนวางแนบลำตัว ระยะที่สองมีอายุ 2,500
ปี โครงกระดูกหันหัวไปในหลายทิศทาง
ในระดับนี้พบว่ามีการฝังศพทารกในภาชนะดินเผาด้วย ระยะสุดท้ายมีอายุ 2,000 ปี ศพหันหัวไปทางทิศใต้ มีการมัดเข่ามัดเท้าบางศพ แต่คติในการฝังจะคล้ายกันคือจะนำเครื่องประดับ
เช่น กำไลเปลือกหอย ลูกปัด แหวนสำริด กำไลสำริด
เครื่องประดับศีรษะทำด้วยสำริดและภาชนะของผู้ตายฝังร่วมไปด้วยกับผู้ตายด้วย
หลุมขุดค้นที่ 2
ในดินชั้นบนพบร่องรอยของศาสนสถานในพุทธศตวรรษที่ 13-16
เรียกกันว่า กู่ธารปราสาท และพบเศียรพระพุทธรูปในสมัยทวารวดี
และยังพบโบราณวัตถุศิลปะแบบเขมรด้วยจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบรูปปั้นดินเผาผู้หญิงครึ่งตัวเอามือกุมท้องลักษณะคล้ายตั้งครรภ์และชิ้นส่วนลายปูนปั้นประดับปราสาท
หลุมขุดค้นที่
3
การฝังศพของหลุมขุดค้นนี้มีอายุร่วมสมัยกับหลุมฝังศพระยะแรกของหลุมขุดค้นที่
1 แต่มีพิธีกรรมบางอย่างที่แตกต่างกัน
ศพจะหันหัวไปทางทิศตะวันออก แขนแนบลำตัว ส่วนใหญ่ขาเหยียดตรงยกเว้นศพเด็ก 3
คนที่โครงกระดูกแบะออกเล็กน้อย
มีการฝังภาชนะเคลือบน้ำดินสีแดงรวมกับโครงกระดูก
พบว่ามีเพียงศพเดียวที่ใส่เครื่องประดับกำไลสำริดและกำไลเปลือกหอย นอกนั้นไม่มีโครงกระดูกอื่นที่พบเครื่องประดับ
เพื่อน ๆ คนไหนที่อยากไปเที่ยวแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาทก็สามารถไปตามแผนที่นี้ได้เลยค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก
นครราชสีมา. แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2561,
จาก http://kanchanapisek.or.th
ประเพณีไทยดอทคอม. แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2561,
จาก http://www.prapayneethai.com
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา. แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อ.โนนสูง.
ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2561, จาก http://pr.prd.go.th/nakhonratchasima/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น